โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (Sexually transmitted infections : STIs) เป็นกลุ่มโรคที่มีการติดต่อจากบุคคลหนึ่งสู่อีกบุคคลหนึ่ง โดยส่วนใหญ่แล้วจะติดต่อกันได้จากการมีเพศสัมพันธ์ และในบางโรคเกิดจากการสัมผัสทางเพศ การสัมผัส รวมถึงการถ่ายทอดจากมารดาสู่ทารกในครรภ์ อย่างไรก็ตามยังเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์สามารถติดต่อทางเลือดได้ จากการใช้เข็มฉีดยา หรือ หลอดฉีดยาร่วมกัน (ในกลุ่มผู้ติดยาเสพติดชนิดฉีด) ได้อีกด้วย โรคติดต่อทางเพศเกิดจากสาเหตุใด? โดยทั่วไปแล้วโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์สามารถเกิดได้จาก 3 กลุ่มหลัก ๆ ดังนี้ เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย เชื้ออื่นๆ อาการที่บ่งบอกว่าคุณเสี่ยงต่อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เนื่องจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มีด้วยกันหลายโรค ซึ่งบางโรคอาจไม่แสดงอาการและบางโรคมีอาการที่สังเกตเห็นความผิดปกติได้ ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้อาการลุกลามรุนแรง หากพบว่ามีอาการดังต่อไปนี้ ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อลดความเสี่ยงต่ออาการของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โดยได้อย่างทันท่วงที การตรวจรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เมื่อสังเกตว่าตนมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ควรเข้ารับการตรวจโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างเร็วที่สุด เพื่อรับคำปรึกษาและทำการตรวจคัดกรองค้นหาโรค ในผู้หญิงแพทย์จะแนะนำให้ตรวจภายใน และนำเข้าตรวจในห้องปฏิบัติการ หรือ บางอาการแพทย์อาจพิจารณาให้ตรวจเลือด ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยรายนั้นๆ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบบ่อย โรคเริม โรคเริมบริเวณอวัยวะเพศ เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบได้บ่อยในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันร่างกายต่ำ มีสาเหตุจากเชื้อไวรัส herpes simplex virus หรือ HSV ที่ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงหากเป็นครั้งแรก และหลังจากนั้นอาการรุนแรงจะลดลงหากเป็นซ้ำอีกครั้ง ผู้ป่วยจะมีอาการที่สังเกตได้ ดังนี้ […]
Tag Archives: ตรวจเอชไอวี
“การตรวจเอชไอวี” คือ การนำสารคัดหลั่งจากร่างกายไปตรวจหาเชื้อเอชไอวี ในห้องปฏิบัติการ โดยสามารถเก็บตัวอย่างได้จากการขูดเซลล์หรือน้ำลายในช่องปาก แต่ที่นิยมในปัจจุบันก็คือการตรวจจากเลือด ซึ่งมีให้บริการทั่วไปตามคลินิกและโรงพยาบาลต่างๆ เอชไอวี คืออะไร ? เอชไอวี (Human Immunodeficiency Virus) เป็นเชื้อไวรัสที่ ทำลายระบบภูมิคุ้มของร่างกาย ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานบกพร่อง จึงไม่สามารถต่อสู้ป้องกันหรือกำจัดการติดเชื้อได้ตามปกติ หากติดเชื้อเอชไอวีแล้วจะไม่สามารถกำจัดเชื้อไวรัสออกจากร่างกายได้ แต่สามารถควบคุมเชื้อไวรัสได้ โดยการรับการรักษา ปัจจุบันนี้ได้มีการรักษาเพื่อยับยั้งการเพิ่มจำนวนของเชื้อไวรัสและผู้ที่ได้รับการรักษาสามารถมีชีวิตอยู่ได้เหมือนคนปกติทั่วไป เอชไอวี (HIV) ติดต่อทางไหน ? “เอชไอวีไม่ติดผ่านทางน้ำลาย ปัสสาวะ น้ำตา หรือเหงื่อ” ใครบ้างที่ควรตรวจเอชไอวี การตรวจเอชไอวี มีกี่แบบ ? การตรวจแบบ Antigen หรือ HIV p24 Antigen Testing การตรวจหาโปรตีนของเชื้อที่มีชื่อว่า p24 ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่ติดเชื้อในระยะแรก ที่ร่างกายยังไม่ได้สร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ (Antibody) ตรวจได้หลังมีความเสี่ยง ตั้งแต่ 14 วันขึ้นไป การตรวจแบบ Antibody หรือ Anti-HIV Testing […]