เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ยากที่จะหาสาเหตุที่แน่ชัดได้ว่าเกิดมาจากอะไร เพราะสามารถเกิดขึ้นได้จากกรรมพันธุ์ ถ้าคนในครอบครัวของคุณแม่ตั้งครรภ์ เคยเป็นโรคเบาหวานมาก่อน หรือจากอายุที่ผู้หญิงวัยตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป มักมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานด้วยกันทั้งนั้น ด้วยสภาพร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป หรือในผู้หญิงบางคน ตั้งครรภ์ลูกคนแรกไม่เคยมีภาวะนี้ แต่พอลูกคนถัดไปกลับเป็นโรคเบาหวานขึ้นมาได้ รวมไปถึงน้ำหนักตัว ความดัน สภาพจิตใจก็มีส่วนที่ส่งผลกระทบให้คุณแม่ที่ตั้งครรภ์เกิดภาวะโรคเบาหวานครับ
เบาหวานขณะตั้งครรภ์ เกิดจากอะไร
เบาหวานขณะตั้งครรภ์ หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า Gestational Diabetes เป็นโรคเบาหวานชนิดหนึ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้กับคุณแม่ที่มีการตั้งครรภ์ มักจะพบโรคนี้กับคุณแม่ที่มีการตั้งครรภ์ตั้งแต่ 24 สัปดาห์ขึ้นไป ซึ่งเกิดจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติ เพราะร่างกายไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) ได้เพียงพอ และหากมีระดับที่สูงอยู่เช่นนี้นานๆ จะส่งผลให้การทำงานของอวัยวะภายในร่างกายผิดปกติตามไปด้วย
ลักษณะอาการของ เบาหวานขณะตั้งครรภ์
- ปัสสาวะบ่อย
- เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ตาพร่า
- กระหายน้ำตลอดเวลา
- หิวบ่อย ทั้งที่ทานมื้ออาหารไปแล้ว
- เวลามีแผลแล้วหายค่อนข้างช้า
ผลร้ายของเบาหวานขณะตั้งครรภ์
ผลกระทบต่อคุณแม่
- เสี่ยงต่อการเกิดภาวะ ครรภ์เป็นพิษ
- เสี่ยงต่อการเกิดภาวะ ความดันโลหิตสูง
- เสี่ยงต่อการเกิดภาวะ ตกเลือดขณะคลอดบุตร
- เสี่ยงต่อการเกิดภาวะ เสื่อมของระบบจอประสาทตา
- เสี่ยงต่อการเกิดภาวะ เสื่อมของระบบการทำงานของไต
- เสี่ยงต่อการเกิดภาวะ ติดเชื้อทางระบบทางเดินปัสสาวะ
- เสี่ยงต่อการเกิดภาวะ เสื่อมของระบบการทำงานของหัวใจ
- เสี่ยงต่อการเกิดภาวะ เสื่อมของระบบการทำงานของประสาท
- เสี่ยงต่อการเกิดภาวะ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ต่อเนื่องในอนาคต
- เสี่ยงต่อการเกิดภาวะ เสื่อมของระบบการทำงานของหลอดเลือด
ผลกระทบต่อทารก
- มีโอกาสในการแท้งลูก หรือทารกเสียชีวิตในครรภ์
- ทำให้เด็กทารกมีขนาดรูปร่างใหญ่ผิดปกติ จนต้องผ่าตัดหน้าท้องเพื่อทำคลอดก่อนกำหนด
- หากเด็กคลอดออกมาแล้ว อาจทำให้มีปัญหาเรื่องระบบทางเดินหายใจ ไม่สามารถหายใจได้เอง หัวใจพิการ หรือมีเกล็ดเลือดต่ำ ตัวเหลือง และระดับเกลือแร่ในร่างกายผิดปกติ
- ทารกที่คลอดออกมาจากคุณแม่ที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ มีโอกาสเป็นโรคอ้วน และโรคเบาหวานในอนาคตได้
ทำอย่างไรจึงจะลด เบาหวานขณะตั้งครรภ์
คุณแม่ที่เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ สามารถดูแลตัวเองให้มีระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติได้ด้วยการเน้นเรื่องโภชนาการ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ และการออกกำลังกายที่เหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ แต่คุณแม่ตั้งครรภ์บางราย ก็อาจจำเป็นต้องได้รับยารักษาภาวะนี้ด้วย
เมนูอาหาร ในช่วงภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์
การรับประทานอาหารในคุณแม่ที่เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ จะต้องขึ้นอยู่กับระดับค่าน้ำตาลในเลือดที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งแพทย์ที่คุณไปฝากครรภ์ด้วย ซึ่งหากใครที่ต้องการฝากครรภ์ที่คลินิกในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เกาะสมุย เกาะเต่า เกาะพะงัน เราขอแนะนำ คลินิกหมอวีระพงศ์ ที่จะเป็นผู้คอยให้คำแนะนำ และดูแลสุขภาพของคุณอย่างใกล้ชิด คลิกจองคิวออนไลน์ได้ที่นี่ โดยเมนูต่างๆ จะค่อนข้างคล้ายคลึงกับผู้ป่วยโรคเบาหวานทั่วไป ดังนี้
- ทานคาร์โบไฮเดรตในเชิงซ้อน หรือในปริมาณที่พอเหมาะ
- ทานโปรตีนจากเนื้อสัตว์ที่มีไขมันต่ำ ไม่ติดหนัง
- ทานผักที่กากใยสูง และผลไม้ที่ไม่หวาน
- ทานนมจืด นมพร่องมันเนย และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม
- ลดอาหารจำพวกแป้ง น้ำตาล ของหวาน ขนมขบเคี้ยว
- ลดอาหารรสจัด เค็มจัด ของมัน ของทอด
การออกกำลังกาย ในช่วงภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์
การออกกำลังกายให้ได้วันละ 30 นาที กับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีภาวะเบาหวาน จะช่วยลดความกังวลใจ ความเครียดลงได้มาก ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของสุขภาพร่างกาย กระดูก หัวใจ กล้ามเนื้อ ทำให้ข้อต่อต่างๆ ให้มีการเคลื่อนไหวได้สะดวก ความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ น้ำหนักลดลง ระดับคอเลสตอรอลต่ำ ระดับน้ำตาลลดลง และยังช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในอนาคตได้ โดยกิจกรรมที่สามารถทำได้ เช่น เดิน หรือวิ่งเบาๆ แกว่งแขนหลังมื้ออาหาร ปั่นจักรยานอยู่กับที่ ว่ายน้ำ เต้นรำ โยคะ เป็นต้น
หากคุณแม่ตั้งครรภ์ ได้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์แล้ว แต่ระดับน้ำตาลในเลือดยังคงสูงกว่าปกติ แพทย์จะพิจารณาให้ยาอินซูลินแบบฉีด เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลไม่ให้เป็นอันตรายต่อเด็กในครรภ์ แต่หากสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี ก็จะใช้วิธีควบคุมอาหารเพียงอย่างเดียว
จะป้องกันเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ได้อย่างไร
- ฝากครรภ์กับแพทย์ผู้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง
- ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
- ตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน
- ดูแลใส่ใจเรื่องอาหารการกินที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ
- ควบคุมน้ำหนัก ไม่ให้เกิดโรคอ้วน
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- ตรวจเช็คค่าระดับน้ำตาลในเลือด ไม่ว่าจะเป็นการไปเจาะเลือดตรวจหรือใช้เครื่องตรวจด้วยตัวเอง
ดังจะเห็นได้ว่า ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ของคุณแม่นั้นเป็นสิ่งที่มีความอันตรายอย่างมาก เพราะส่งผลร้ายต่อคุณแม่และเด็กน้อยในครรภ์โดยตรง อย่างไรก็ตาม หากรู้ตัวว่าตั้งครรภ์ และมีการฝากครรภ์ตั้งแต่เนิ่นๆ แพทย์ผู้ดูแลครรภ์จะทำการตรวจคัดกรองเบาหวานตั้งแต่มีการพบแพทย์ครั้งแรก เพื่อตรวจดูระดับน้ำตาลเบื้องต้น ทำให้ความเสี่ยงลดลง เนื่องจากมีการติดตามผลอย่างต่อเนื่อง และทำให้สุขภาพของคุณทั้งคู่แข็งแรงปลอดภัยในที่สุดครับ