มะเร็งปากมดลูก เกิดจากอะไร

มะเร็งปากมดลูก เกิดจากอะไร

มะเร็งปากมดลูก กลายเป็นหนึ่งโรคยอดฮิตของผู้หญิงที่พบได้บ่อยประมาณ 6-8 พันคนต่อปี และมีอัตราการเสียชีวิตเฉลี่ยวันละ 8-10 คน ซึ่งจำนวนที่มากเลยทีเดียว เรียกได้ว่าผู้หญิงที่เคยมีเพศสัมพันธ์เกือบ 100% มีโอกาสที่จะติดเชื้อได้ เพราะไวรัสเอชพีวีเป็นเชื้อที่ติดค่อนข้างง่าย นอกจากเรื่องเพศสัมพันธ์ ยังสามารถติดต่อผ่านการสัมผัสเชื้อได้ ในลักษณะที่มีพาหะนำเชื้อเข้าไปสู่ช่องคลอด และที่น่ากลัวคือเมื่อติดเชื้อแล้วแทบจะไม่มีอาการเจ็บป่วยใดๆ ให้สังเกตเห็นได้เลย กว่าที่จะรู้ตัวก็ใช้เวลานานหลายปี เพราะฉะนั้นการตรวจมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำ ถือเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญ เราสามารถเริ่มตรวจมะเร็งปากมดลูกได้ในกลุ่มผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 30 ปีขึ้นไป บทความนี้ จะมาแบ่งปันความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก เพื่อช่วยให้ผู้หญิงทุกคนมีสุขภาพที่ดี

โรคมะเร็งปากมดลูก มีสาเหตุมาจากอะไร

ตัวการหลักที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูก คือ ไวรัสที่ชื่อว่า “ฮิวแมน แปปปิโลมา” หรือเชื้อ HPV (Human Papilloma Virus) นั่นเอง เชื้อไวรัสชนิดนี้ มีการส่งต่อเชื้อส่วนใหญ่จากการมีเพศสัมพันธ์ โดยจะต้องเป็นเชื้อไวรัสเอชพีวีชนิดที่ก่อให้เกิดมะเร็ง ซึ่งมีทั้งหมด 15 สายพันธุ์ จาก 100 สายพันธุ์ โดยเฉพาะสายพันธุ์ที่ 16 และ 18

ปากมดลูกเป็นอย่างไร

ปากมดลูกเป็นส่วนหนึ่งของอวัยวะเพศผู้หญิง ที่มีจุดเชื่อมต่อจากมดลูกในช่องท้อง โผล่ยื่นออกมาที่ช่องคลอด ใจความสำคัญ คือ เลือดประจำเดือนที่มาในทุกเดือนนั้น จะไหลผ่านปากมดลูกนี้ ผ่านช่องคลอดออกมาสู่ภายนอก ที่เราจำเป็นต้องสวมผ้าอนามัยไว้ที่กางเกงนั่นเอง เมื่อมีเพศสัมพันธ์ น้ำอสุจิของเพศชายจะไปอยู่ที่ช่องคลอด ผ่านปากมดลูกเพื่อเข้าไปยังมดลูก และทำให้ผู้หญิงตั้งครรภ์ได้ พื้นที่นี้เป็นจุดสำคัญที่ไวรัสเอชพีวีไปกระจายเชื้อ เพราะมีการแบ่งตัวของเซลล์อยู่เสมอ

ใครบ้างที่เสี่ยงเป็นโรค มะเร็งปากมดลูก

  • ผู้หญิงทุกคนที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป
  • ผู้ที่มีพฤติกรรมการเปลี่ยนคู่นอนบ่อยครั้ง
  • ผู้หญิงที่มีลูกจำนวนมาก (3 คนขึ้นไป) หรือมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย
  • ผู้หญิงที่ไม่เคยตรวจภายในเลย
  • ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำ
  • ผู้ที่มีเชื้อไวรัสเอชไอวี หรือมีประวัติเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มาก่อน
  • ผู้ที่มีพฤติกรรมเปลี่ยนคู่นอนบ่อย
  • ผู้หญิงที่ทานยาคุมกำเนิดนานกว่า 10 ปี
  • ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเคยเป็นโรคมะเร็งปากมดลูก
  • ผู้ที่ไม่ใส่ใจในสุขภาพของตนเอง เช่น ทานอาหารไม่ครบหมู่ นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ สภาพจิตใจเครียดวิตกกังวล ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ เป็นต้น
อาการแบบไหนบ้าง? ที่เข้าข่ายมะเร็งปากมดลูก

อาการแบบไหนบ้าง? ที่เข้าข่ายมะเร็งปากมดลูก

  • ตกขาวผิดปกติ มีกลิ่นเหม็น
  • ประจำเดือนมาไม่ปกติ
  • ปวดบริเวณท้องน้อย หรือตรงอุ้งเชิงกราน
  • ปวดช่วงหลัง มีอาการขาบวม
  • รู้สึกเจ็บหรือมีเลือดออกเมื่อมีเพศสัมพันธ์
  • มีเลือดออกที่ช่องคลอดในช่วงที่ไม่ใช่รอบเดือน
  • มีเลือดออกที่ช่องคลอดหลังจากเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนแล้ว
  • ขับถ่ายมีเลือดปน หรือปัสสาวะไม่ค่อยออก
  • อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย น้ำหนักลด

การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกมีกี่วิธี

หลายคนอาจจะเคยตรวจภายในมาก่อนแล้ว อย่างไรก็ตาม การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกควรจะต้องทำเป็นประจำทุกปี เพราะกระบวนการเกิดโรคค่อนข้างช้า และใช้เวลาในการพัฒนาเป็นมะเร็งค่อนข้างนาน การหมั่นตรวจเช็คเป็นทางเดียวที่ช่วยให้รักษาได้ทันที ติดต่อตรวจมะเร็งปากมดลูก กับคลินิกหมอวีระพงศ์ เกาะสมุย เกาะเต่า เกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานีได้ ซึ่งในปัจจุบันมีหลายวิธี ในการตรวจมะเร็งปากมดลูก ดังนี้

ตรวจ มะเร็งปากมดลูก ด้วยวิธีทางเซลล์วิทยา (Pap Smear)

“แปปสเมียร์” หรือ The Papanicolaou Smear เป็นการตรวจหาความเปลี่ยนแปลงของเซลล์เนื้อเยื่อ บริเวณปากมดลูก เพื่อค้นหารอยโรคก่อนระยะมะเร็ง แพทย์จะใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Speculum สอดเข้าไปผ่านช่องคลอดให้ลึกถึงบริเวณปากมดลูก ซึ่งไม่ทำให้รู้สึกเจ็บแต่อย่างใด บางคนอาจไม่ค่อยสบายตัว หรือมีอาการระบบด้านในช่องคลอดจากการตรวจภายในครั้งแรกเพราะยังไม่รู้สึกชิน แต่ก็เป็นอาการเพียงเล็กน้อยไม่อันตราย โดยแพทย์จะทำการป้ายเซลล์จากมดลูกส่งไปตรวจที่ห้องปฏิบัติการ โดยเซลล์ตัวอย่างที่เยื่อบุผิวนี้สามารถบอกถึงภาวะอักเสบที่เกิดจากติดเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา หรือเชื้อพยาธิได้ การตรวจมะเร็งปากมดลูกวิธีแปปสเมียร์นี้ ผู้หญิงจะตรวจได้ตั้งแต่อายุ 21 ปีขึ้นไป หรือนับจากมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกมาแล้วประมาณ 2-3 ปี สามารถรู้ผลภายใน 1-2 สัปดาห์ขึ้นอยู่กับแต่ละสถานพยาบาลที่คุณไปตรวจ

ตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธีตินเพร็พ (Thin Prep)

“ตินเพร็พ” เป็นการตรวจด้วยการเก็บตัวอย่างเซลล์ด้วยของเหลว แพทย์จะใช้อุปกรณ์พิเศษคล้ายกับแปรงขนาดเล็ก จากนั้นนำตัวอย่างเซลล์ที่ได้ ไปเก็บไว้ในน้ำยารักษาสภาพเซลล์ แล้วส่งไปตรวจที่ห้องปฏิบัติการ การตรวจมะเร็งปากมดลูกวิธีตินเพร็พนี้ จะช่วยลดการสูญเสียตัวอย่างเซลล์ลงโดยไม่ต้องเรียกเก็บเพิ่ม และยังให้ผลตรวจที่ค่อนข้างละเอียดแม่นยำกว่าแบบแรก (Pap Smear) สามารถรู้ผลประมาณ 5-7 วัน

ตรวจ มะเร็งปากมดลูด้วยวิธีตรวจหาดีเอ็นเอของไวรัสเอชพีวี (HPV DNA Test)

เป็นการตรวจหาแบบเจาะลึกระดับดีเอ็นเอของไวรัสเอชพีวี โดยสามารถตรวจระดับชีวโมเลกุลและระบุสายพันธุ์ของเชื้อได้เลย แถมยังพบรอยของโรคได้เร็วด้วย สามารถเก็บตัวอย่างด้วยตัวเองโดยไม่ต้องขึ้นขาหยั่ง หรือจะให้แพทย์เก็บตัวอย่างเซลล์ให้ที่สถานพยาบาลก็ได้เช่นกัน หากเป็นการเก็บตัวอย่างด้วยตัวเอง ผู้ตรวจจะต้องนำส่งเซลล์ตัวอย่างภายใน 2 วัน แพทย์จะทำการส่งตรวจที่ห้องปฏิบัติการ วิธีนี้ถือว่ามีความแม่นยำสูงมาก หากไม่มีการติดเชื้อก็แทบจะมั่นใจได้ถึง 99% ว่าไม่เป็นโรคมะเร็งปากมดลูก

ตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยปัสสาวะ (HPV Testing Kits)

เป็นการตรวจรูปแบบใหม่สำหรับคนที่มีปัญหาในการขึ้นขาหยั่งสำหรับตรวจภายใน ด้วยการใช้ชุดตรวจมะเร็งปากมดลูกเซนเซอร์ฐานกระดาษที่ใช้ง่ายและมีความรวดเร็วกว่าการตรวจทั้ง 3 วิธีแรก โดยวิธีนี้เป็นการตรวจ DNA ของเชื้อไวรัสเอชพีวีโดยใช้ PNA (Peptide Nucleic Acid) ซึ่งเป็นสารสังเคราะห์เลียนแบบ DNA ออกแบบให้มีความจำเพาะกับเชื้อที่ต้องการตรวจ ซึ่งสามารถระบุสายพันธุ์ได้ เนื่องจากไวรัสเอชพีวีมีหลายสายพันธุ์ แต่ไม่ใช่ทุกสายพันธุ์จะก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูก จะใช้ปัสสาวะผสมกับสารละลาย หยดลงกระดาษ จากนั้นก็สังเกตการเปลี่ยนแปลงของสีสารละลาย โดยปกติจะมีสีแดงเข้ม แต่หากปัสสาวะของผู้ตรวจมีเชื้อไวรัสอยู่ สีของสารละลายจะอ่อนลง ทั้งนี้จะมีอุปกรณ์เสริมที่ช่วยทำให้สังเกตความเข้มของสีได้ชัดเจนขึ้น โดยทำงานร่วมกับแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน เมื่อมีการพัฒนาวิธีการตรวจชนิดนี้ขึ้น ก็ช่วยลดอาการกลัวและเขินอายสำหรับผู้หญิงลงได้ และทำให้คนหันมาตรวจมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้น แต่ยังไม่แพร่หลาย และยังไม่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป จะมีใช้เฉพาะหน่วยงานโรงพยาบาลชุมชนหรือสถานีอนามัยเท่านั้น

มะเร็งปากมดลูก รักษาหายหรือไม่

หากแพทย์พบผลเซลล์ที่มีความผิดปกติ อาจมีการนัดผู้ตรวจเข้ามาส่องกล้องขยายดูปริเวณปากมดลูกเพื่อยืนยันความผิดปกติว่ามีจริงหรือไม่ หรือในบางรายจะมีการตัดเอาชิ้นเนื้อบริเวณนั้นไปตรวจเพิ่มเติมด้วย ซึ่งโรคมะเร็งปากมดลูกมีโอกาสรักษาหายได้ หากคุณเข้ารับการตรวจที่รวดเร็ว พบเชื้อไว ก็เข้าสู่กระบวนการรักษาได้ไว หายได้ไวขึ้น โดยทางเลือกในการรักษาโรคมะเร็งปากมดลูกมีอยู่หลายวิธี ดังนี้

การผ่าตัด มะเร็งปากมดลูก

ระยะแรกของโรคมะเร็งปากมดลูก แพทย์จะทำการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดเป็นทางเลือกหลัก ด้วยการผ่าตัดปากมดลูกแบบกว้าง หรือที่เรียกว่า “การตัดปากมดลูกเป็นรูปกรวย” (Radical Trachelectomy) เนื้อเยื่อปากมดลูก และบริเวณใกล้เคียงที่เหนือช่องคลอดขึ้นไป จะถูกตัดออก โดยที่มดลูกยังคงอยู่เช่นเดิม เหมาะสำหรับผู้ที่ยังต้องการมีบุตรในอนาคต แต่ก็มีการผ่าตัดที่มดลูกและปากมดลูก จะถูกนำออกไป ขึ้นอยู่กับระยะลุกลามของมะเร็ง

การใช้รังสีรักษา มะเร็งปากมดลูก

หลังทราบผลตรวจชิ้นเนื้อ และพบว่ามีความเสี่ยงในการกลับมาเป็นโรคมะเร็งซ้ำ แพทย์จะใช้การวิธีรักษาแบบรังสี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการรักษาร่วมกับการผ่าตัด ในกรณีผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกระยะลุกลามเฉพาะที่ จะรักษาด้วยรังสีรักษาร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัด เป็นการรักษาหลัก แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

  • การฉายรังสีระยะไกล จะเป็นรังสีที่มาจากเครื่องกำเนิดรังสีพลังงานสูง แพทย์จะทำการฉายรังสีไปยังจุดที่ผิดปกติโดยเฉพาะ
  • การฉายรังสีระยะใกล้ จะเป็นให้แร่ (โลหะกัมมันตภาพรังสี) ผ่านด้านในช่องคลอดเป็นระยะเวลาสั้นๆ

การใช้รังสีรักษา มีโอกาสทำให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูกเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนก่อนกำหนด จึงควรปรึกษาแพทย์ เพื่อหาแนวทางการเก็บรักษาไข่ก่อนเริ่มการรักษา โดยเฉพาะผู้หญิงที่อายุยังน้อย หรือต้องการมีบุตรหลังทำการรักษาเสร็จสิ้น

การใช้เคมีบำบัด มะเร็งปากมดลูก

การรักษาด้วยการใช้ยาเคมีบำบัดจะมุ่งเข้าทำลายเซลล์มะเร็งโดยตรง แพทย์จะค่อยๆ ทำการรักษาด้วยเคมีบำบัดในปริมาณเล็กน้อย ร่วมกับการใช้รังสีรักษา จะช่วยลดอาการเจ็บป่วยที่เกิดจากโรคมะเร็งและลดการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งได้ แต่หากผู้ป่วยที่อยู่ในระยะแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งจำนวนมาก มักจะรักษาด้วยวิธีให้ยาเคมีบำบัดเป็นหลัก

หากไม่มีโรคหรือภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตราย หลังหยุดการรักษาระยะหนึ่ง อาการก็จะทุเลาลงและกลับมาเป็นปกติในที่สุด หลังเข้ารับการรักษาจนหายดี และไม่มีเซลล์มะเร็งปรากฏอีก ผู้ป่วยยังคงต้องมาพบแพทย์ และตรวจร่างกายอยู่เสมอ เพื่อตรวจหาสัญญาณความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งซ้ำอีก โดยแพทย์จะนัดมาตรวจร่างกายเป็นระยะ และสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ โดยการรักษาสุขภาพภายใต้การดูแล และคำแนะนำของแพทย์อยู่เสมอ

วัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสเอชพีวี

การป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก

ปัจจุบันมีวัคซีนที่ช่วยป้องกัน โรคมะเร็งปากมดลูกจากเชื้อไวรัสเอชพีวีที่มีประสิทธิภาพสูง โดยจะต้องฉีดทั้งหมดจำนวน 3 เข็ม โดยฉีดเข้าที่บริเวณกล้ามเนื้อ และเข็มที่ 2 จะฉีดห่างจากเข็มแรก 1-2 เดือน และเข็มที่ 3 ห่างจากเข็มแรก 6 เดือน วัคซีนนี้จะได้ผลดีเมื่อฉีดให้กับผู้หญิงที่ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อน หรือหากเป็นผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์แล้ว วัคซีนจะทำงานได้อย่างดีกับผู้ที่ยังไม่มีการติดเชื้อเอชพีวี หรือยังไม่พบเซลล์ผิดปกติ

วัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสเอชพีวี 9 สายพันธุ์

ความจริงแล้ว ไวรัสเอชพีวี (HPV) เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งต่างๆ ได้หลายโรค ซึ่งสามารถเป็นได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง การสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสเอชพีวีจะสามารถป้องกันมะเร็งที่เกิดจากเชื้อชนิดนี้ได้ถึง 90% เลยทีเดียว โดยมีประโยชน์ดังนี้

  • วัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสเอชพีวี 9 สายพันธุ์ (Gardasil) ป้องกันการติดเชื้อสายพันธุ์ที่ 6/11/16/1/8/31/33/45/52/58
  • ป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก โรคมะเร็งช่องคลอด โรคมะเร็งปากช่องคลอด โรคมะเร็งในช่องปากและลำคอ โรคหูดหงอนไก่ และโรคมะเร็งทวารหนัก
  • วัคซีนยังช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัสเอชพีวีในสายพันธุ์ที่ยังไม่เคยติดเชื้อมาก่อน
  • วัคซีนยังครอบคลุมเชื้อที่สามารถก่อให้เกิดระยะก่อนเป็นมะเร็งและระยะเริ่มเป็นมะเร็งได้มากขึ้น
  • วัคซีนเอชพีวีสามารถฉีดได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง ตั้งแต่อายุ 9 ปีขึ้นไป โดยจะฉีดทั้งหมด 2 เข็ม แต่หากอายุเกิน 15 ปีแล้วฉีดจำนวนทั้งหมด 3 เข็ม สนใจฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูกที่เกาะสมุย เกาะเต่า เกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ติดต่อที่นี่
การป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก

ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ผู้หญิงทุกคนควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำทุก 2-3 ปีเพื่อค้นหารอยโรคก่อนเป็นระยะมะเร็ง ทำให้เข้าสู่กระบวนการรักษาได้อย่างรวดเร็วไม่ลุกลามทำร้ายสุขภาพได้ หากใครที่อาศัยอยู่ละแวกเกาะสมุย เกาะเต่า เกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ก็แวะเข้ามาขอคำปรึกษาที่คลินิกหมอวีระพงศ์ก่อนได้ ซึ่งเราเปิดบริการทุกวัน หรือโทรเข้ามาสอบถามค่าใช้จ่ายสำหรับการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสเอชพีวี ที่เบอร์ 092-928-6888 หรือ Line ID: @wrpclinic ได้ตั้งแต่ 12:00-20:00 น.

อ่านบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง