ตรวจเอชไอวี และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

ตรวจเอชไอวี และรักษา ตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

การ ตรวจเอชไอวี นั้นเหมาะสำหรับการวางแผนก่อนมีบุตรหรือมีลูกในทุกครอบครัว คุณพ่อและคุณแม่ ควรเข้ารับการตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อไวรัสเอชไอวี และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เสียก่อน เพราะโรคเหล่านี้สามารถส่งต่อไปยังลูกน้อยในครรภ์และส่งผลอันตรายต่อสุขภาพของทารกโดยตรง ซึ่งในปัจจุบัน หากพ่อแม่มีเชื้อ และทานยาต้านไวรัสอย่างเคร่งครัดมีวินัย ก็สามารถมีลูกได้แต่ต้องอยู่ในความดูแลใกล้ชิดจากแพทย์ พร้อมทั้งให้บริการสำหรับบุคคลทั่วไปทุกเพศทุกวัยที่ต้องการตรวจ HIV โดยจะมีการให้คำแนะนำปรึกษา ประเมินความเสี่ยงจากแพทย์และเจ้าหน้าที่ผู้มีความเชี่ยวชาญ ข้อมูลทุกอย่างถูกเก็บไว้เป็นความลับและปลอดภัย คนไข้สามารถวางใจได้กับบริการของเรา ที่ทั้งสะดวกรวดเร็ว และไม่ต้องลุ้นผลตรวจนาน

ตรวจเอชไอวี

จองตรวจออนไลน์ที่นี่

รู้จักไวรัสเอชไอวี

ไวรัสเอชไอวี เป็นเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องได้ ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย การใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น การรับเลือดที่ไม่ได้ผ่านการคัดกรองเชื้อเอชไอวีมาก่อน ซึ่งมีโอกาสน้อยมากเนื่องจากปัจจุบันเลือดที่ได้รับบริจาคมานั้นจะถูกตรวจคัดกรองเอชไอวีก่อนเพื่อความปลอดภัยในการใช้ต่อ สุดท้ายคือการติดต่อจากแม่สู่ลูกในระหว่างตั้งครรภ์ การคลอดลูกรวมไปถึงการให้นมแม่ด้วย หากไม่ได้ทำการตรวจโรคเหล่านี้ก่อนวางแผนมีบุตรก็จะส่งผลให้คุณแม่ส่งต่อเชื้อไปให้ลูกได้โดยไม่ตั้งใจ

การตรวจคัดกรองเอชไอวีมีกี่วิธี?

  • วิธีที่ 1 การตรวจหา Antigen ของเชื้อเอชไอวี หรือเรียกว่า HIV p24 Antigen Testing คือ การตรวจหาโปรตีนของเชื้อที่มีชื่อว่า p24 ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่ติดเชื้อในระยะแรก ที่ร่างกายยังไม่ได้สร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ (Antibody) ตรวจได้หลังมีความเสี่ยง ตั้งแต่ 14 วันขึ้นไป
  • วิธีที่ 2 การตรวจหา Antibody ที่จำเพาะต่อเชื้อเอชไอวี หรือเรียกว่า Anti-HIV Testing คือ การตรวจภูมิคุ้มกัน ของร่างกายที่สร้างขึ้นมาเมื่อมีเชื้อเอชไอวีเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งต้องรอระยะฟักตัว (Window Period) ซึ่งจะใช้สำหรับผู้ติดเชื้อทั่วไปที่ต้องการรู้ผลตรวจที่รวดเร็ว และแม่นยำ ตรวจได้หลังมีความเสี่ยง ตั้งแต่ 21 วันขึ้นไป
  • วิธีที่ 3 การตรวจโดยใช้ชุดตรวจ Antibody และ Antigen พร้อมกัน หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า การตรวจแบบใช้น้ำยา Gen 4th (Fourth Generation) ซึ่งเป็นการตรวจหาเชื้อเอชไอวีในวิธีที่ 1 และ 2 ในคราวเดียวกัน ปัจจุบันจะนิยมตรวจด้วยวิธีนี้ เพราะสามารถตรวจได้หลังมีความเสี่ยง ตั้งแต่ 14 วันขึ้นไป
  • วิธีที่ 4 การตรวจแบบแนท (NAT) คือ การตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อเอชไอวี ย่อมาจากภาษาอังกฤษว่า Nucleic Acid Amplification Testing ซึ่งเป็นวิธีที่มีความรวดเร็วมาก สามารถตรวจได้หลังมีความเสี่ยงตั้งแต่ 5-7 วัน แต่แพทย์มักจะแนะนำให้ทำการตรวจซ้ำอีกครั้งด้วยวิธีที่ 3 เพื่อยืนยันผลตรวจที่แน่นอน

ความเสี่ยงแบบไหนบ้างที่ควร ตรวจเอชไอวี

  • เมื่อมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้สวมถุงยางอนามัย
  • เมื่อมีเพศสัมพันธ์กับคนแปลกหน้า หรือเปลี่ยนคู่นอนบ่อย
  • เมื่อใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น
  • เมื่อถูกเข็มทิ่มตำหรือมีดผ่าตัดบาดมือ ในกรณีที่อุปกรณ์เหล่านี้มีเลือดของผู้อื่นปนเปื้อนอยู่
  • เมื่อถูกล่วงละเมิดทางเพศ หรือมีเพศสัมพันธ์ขาดสติ

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการ ตรวจเอชไอวี

  • การตรวจเอชไอวีไม่จำเป็นต้องงดน้ำหรืออาหาร สามารถเจาะเลือดตรวจและรู้ผลได้ในวันเดียว
  • การติดเชื้อเอชไอวีไม่ได้ทำให้เสียชีวิต และไม่ได้ทำให้เป็นเอดส์ทุกคน
  • การติดเชื้อเอชไอวีหากรู้ผลเร็ว สามารถรักษาและควบคุมเชื้อได้
  • การติดเชื้อเอชไอวีแทบไม่มีอาการบ่งชี้ให้สังเกตได้ นอกจากจะเจาะเลือดตรวจ
  • ผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ทานยาดีมีวินัย ดูแลตัวเอง สามารถมีลูกได้เหมือนคู่อื่นๆ ทั่วไป

การตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีอะไรบ้าง

  • เอชไอวี
  • ตรวจเอชพีวี
  • ตรวจซิฟิลิส
  • ตรวจเริมที่อวัยวะเพศ
  • ตรวจไวรัสตับอักเสบบี
  • ตรวจไวรัสตับอักเสบซี
  • ตรวจหนองในเทียม หนองในแท้
  • ตรวจฝีมะม่วง
  • ตรวจหูดข้าวสุก
  • ตรวจหูดหงอนไก่
  • ตรวจหิด ตัวโลน
  • ตรวจอุ้งเชิงกรานอักเสบ
  • ตรวจโรคไทรโคโมนิอาสิส
  • ตรวจเชื้อราในช่องคลอด ช่องคลอดอักเสบ

ไวรัสเอชพีวี

เชื้อ HPV ย่อมาจากคำว่า Human Papilloma Virus ที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศ โดยโรคที่คุ้นหู ได้แก่ โรคมะเร็งปากมดลูก มะเร็งช่องคลอด มะเร็งปากช่องคลอด มะเร็งทวารหนัก มะเร็งช่องปากและหลอดคอ มะเร็งองคชาติ และโรคหูดหงอนไก่ เป็นต้น ซึ่งเชื้อเอชพีวีนี้จะติดต่อผ่านทางผิวหนัง การมีเพศสัมพันธ์จึงเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ ที่บริเวณอวัยวะเพศได้นั่นเอง ผู้ที่ติดเชื้อเอชพีวี แทบจะไม่แสดงอาการเลย เพราะร่างกายของคนเรามีระบบภูมิคุ้มกันที่ช่วยกำจัดเชื้อออกไปได้ แต่หากร่างกายของผู้ติดเชื้ออ่อนแอ หรือเข้าสู่ระยะฟักตัวที่พอเหมาะแล้ว อาจเกิดหูดขึ้นที่แตกต่างกันออกไปตามสายพันธุ์ของไวรัสเอชพีวี ทั้งนี้ โรคมะเร็งปากมดลูก ถือเป็นหนึ่งในการติดเชื้อเอชพีวีที่ควรให้ความสำคัญ โดยผู้หญิงทุกคนที่มีอายุตั้งแต่ 21 ปีขึ้นควรได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอ

ซิฟิลิส

ซิฟิลิส เป็นโรคยอดฮิตที่ติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้สวมถุงยางอนามัยบ่อยครั้ง หรือให้กลุ่มคนที่มีพฤติกรรมเปลี่ยนคู่นอนบ่อย อาการของโรคซิฟิลิสในระยะแรกจะมีเพียงตุ่มเล็กๆ แตกตัวเป็นแผล มีน้ำเหลืองไหลออกมาไม่ได้รู้สึกเจ็บปวดอะไรมากนัก ต่อมาจะมีอาการไข้ ปวดศีรษา มีผื่นขึ้นตามฝ่ามือ ฝ่าเท้า หรือตามร่างกาย ระยะอาการเหล่านี้จะสามารถหายไป แต่มันจะแฝงตัวอยู่ในร่างกายผู้ป่วย หากไม่ได้ตรวจพบเชื้อมันจะค่อยๆ ดำเนินโรคไปเรื่อยๆ จนเข้าไปทำลายระบบต่างๆ ของร่างกายให้เกิดความเสียหาย แต่โรคซิฟิลิสสามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยการฉีดยาเพนนิซิลิน สัปดาห์ละ 1 ครั้งต่อเนื่องกัน 3 สัปดาห์ หรือแพทย์อาจพิจารณาให้ทานยาเพิ่มเติมเพื่อช่วยในการรักษาโรคซิฟิลิสเพิ่มเติมด้วย

การที่เราจะห่างไกลจากเชื้อเอชไอวี และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ ได้นั้น เราควรให้ความสำคัญเกี่ยวกับการป้องกันเป็นหลัก รวมถึงพฤติกรรมของตัวเราเองด้วย หากใครมีความกังวลใจ ต้องการคำปรึกษาเกี่ยวกับเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สามารถพูดคุยกับเราได้ผ่าน Line ID: @wrpclinic ครับ