คลินิกวีระพงศ์ ให้บริการตรวจภายในและคุมกำเนิดโดยสูตินรีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และพร้อมให้คำแนะนำ ปรึกษา ตรวจคัดกรองเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ของสตรีที่ได้มาตรฐาน ด้วยทีมงานมืออาชีพ เครื่องมือการตรวจรักษาที่ทันสมัย ให้บริการอย่างครอบคลุมเกี่ยวกับสูตินรีเวช จึงมั่นใจได้ว่าบริการตรวจภายในและการคุมกำเนิดของเรา จะช่วยป้องกันโรคและคัดกรองโรคต่างๆ ได้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล
การตรวจภายในสำคัญกับคุณผู้หญิงอย่างไร?
การตรวจภายในมีความสำคัญต่อผู้หญิงในเรื่องของการคัดกรองความผิดปกติต่างๆ ที่อาจมีความเสี่ยง ช่วยป้องกันการลุกลามของโรคภายในอวัยวะสืบพันธุ์ ซึ่งหากไม่ทำการตรวจเป็นประจำทุกปีจะไม่สามารถทราบได้ว่ามีความเสี่ยงต่อโรคที่เกี่ยวข้องหรือไม่ เนื่องจากเป็นส่วนที่สังเกตอาการด้วยตนเองไม่ได้ หรือ ไม่แสดงอาการให้ทราบ การตรวจภายในจริงเป็นสิ่งที่ผู้หญิงทุกคนควรเริ่มตรวจหลังจากมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก 3 ปี หรือ หญิงที่เป็นโสดแพทย์แนะนำให้ตรวจภายในเมื่ออายุ 30 (กรณีไม่พบอาการผิดปกติ)
การตรวจภายในต้องตรวจอะไรบ้าง?
การตรวจอวัยวะภายในของผู้หญิงแพทย์จะทำการตรวจ
- อวัยวะสืบพันธุ์ส่วนนอก (Genital Organs Outside)
- ช่องคลอด (Vagina)
- ปากมดลูก (Cervix)
- บริเวณรังไข่ (Ovary)
- ท่อนำไข่ (Fallopian Tube)
- มดลูก (Uterus)
- เยื่อบุโพรงมดลูก (Endometrium)
- ทั้งนี้หากแพทย์ตรวจพบว่ามีความผิดปกติ อาจมีการตรวจอัลตราซาวนด์เพิ่มเติมได้แล้วแต่กรณี
การตรวจภายในครั้งแรกควรเตรียมตัวอย่างไร?
สำหรับการตรวจภายในครั้งแรกของคุณผู้หญิง หลายคนอาจมีความกังวลใจเกี่ยวกับขั้นตอนการตรวจ รวมถึงอาจมีความเขินอายระหว่างเข้ารับการตรวจโดยแพทย์ ซึ่งหากมีการเตรียมตัวก่อนอาจช่วยคลายความกังวลใจได้มากยิ่งขึ้น โดยเพื่อให้การตรวจภายในมีประสิทธิภาพสูงสุด แนะนำให้เตรียมตัวให้พร้อมด้วยข้อควรรู้ดังต่อไปนี้
- ตรวจภายในก่อน หรือ หลังช่วงมีประจำเดือน ควรเข้าตรวจก่อนมีประจำเดือนรอบถัดไปประมาณ 1 สัปดาห์ หรือเมื่อประจำเดือนหมดสนิทประมาณ 1 สัปดาห์ จึงจะเป็นช่วงที่ดีที่สุดในการตรวจภายใน เนื่องจากช่วงที่มีประจำเดือนจะทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้มากกว่า
- กรณีที่ปวดท้องมากขณะมีประจำเดือน สามารถเข้ารับการตรวจภายในได้โดยไม่ต้องรอให้ประจำเดือนหมด
- หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ก่อนเข้ารับการตรวจภายใน
- ก่อนเข้ารับการตรวจภายในประมาณ 2 วัน ไม่ควรใช้ยาเหน็บทางช่องคลอด หรือ ล้างช่องคลอด
- หากมีปัญหาตกขาวสามารถเข้ารับการตรวจภายในได้ ไม่ควรชำระล้างก่อนการตรวจ เพื่อให้แพทย์ตรวจหาสาเหตุและทำการรักษาได้อย่างเหมาะสม
- สวมกระโปรง หรือ เสื้อผ้าที่ใส่สบาย ไม่ควรสวมกางเกงที่รัดเกินไป
- ควรปัสสาวะก่อนเข้ารับการตรวจภายใน เพื่อป้องกันไม่ให้ปวดขณะที่แพทย์ทำการตรวจ
- กรณีที่ตรวจครั้งแรก ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ และมีความรู้สึกเขินอาย สามารถแจ้งขอแพทย์ผู้หญิง หรือ เจ้าหน้าที่ผู้หญิงก่อนทำการตรวจได้ รวมถึงสามารถสอบถามทุกข้อสงสัยได้เพื่อให้การตรวจรักษาเป็นไปได้อย่างเหมาะสม
การคุมกำเนิดในผู้หญิงมีความสำคัญอย่างไร?
การคุมกำเนิดสำหรับเพศหญิงและเพศชายมีความสำคัญในการวางแผนครอบครัว รวมไปถึงคู่รักที่ยังไม่พร้อมมีบุตร ซึ่งปัจจุบันจะเห็นได้ชัดว่าสภาพแวดล้อมทางสังคม เศรษฐกิจ ต่างๆ มีความเปลี่ยนแปลงไปจากในอดีต การมีบุตรมักจะต้องมีความพร้อมทั้งช่วงวัยและฐานะการเงิน จึงทำให้การคุมกำเนิดเป็นพื้นฐานที่คู่รักหลายคนมองหาทางที่เหมาะสมมากที่สุด อย่างไรก็ตามยาคุมกำเนิดสามารถช่วยได้เบื้องต้นแต่หากใช้ผิดหลักการแล้ว อาจมีผลข้างเคียงหรือคุมกำเนิดไม่ได้ประสิทธิภาพเท่าที่ควร ดังนั้นการคุมกำเนิดที่ถูกวิธีจะช่วยให้ความพร้อมในการมีบุตรเป็นไปได้ตามต้องการ
การคุมกำเนิดมีทั้งหมดกี่ประเภท?
ตามหลักทางการแพทย์สามารถแบ่งการคุมกำเนิดออกเป็น 2 กลุ่มหลักๆ
- การคุมกำเนิดแบบถาวร หรือ การทำหมัน เป็นการคุมกำเนิดที่ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ ไม่มีผลต่อสุขภาพในระยะยาว
- การทำหมันเพศหญิง การตัดและการผูกท่อนำไข่ทั้งสองข้าง โดยสามารถทำได้ 2 กรณี คือ หลังการคลอดบุตรได้ไม่นาน (การทำหมันเปียก) และ หลังระยะคลอดบุตรระยะหนึ่ง (การทำหมันแห้ง)
การคุมกำเนิดแบบชั่วคราว
เป็นการคุมกำเนิดที่ทำได้ชั่วคราว มีผลในระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งอาจมีผลข้างเคียงต่อร่างกาย ยาคุมกำเนิด : มีทั้งหมด 3 ประเภท
- ยาคุมกำเนิดฮอร์โมนรวม
- ยาคุมกำเนิดฮอร์โมนเดี่ยว
- ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน
การใช้ยาคุมกำเนิดเหมาะสำหรับผู้หญิงที่ต้องการคุมกำเนิดในระยะสั้น เนื่องจากปัจจัยต่างๆ อาจทำให้การทานยาไม่ได้ประสิทธิภาพ รวมถึงการเลือกใช้ยาคุมกำเนิดที่อาจไม่ตรงต่อภาวะร่างกายของตนเอง หรือ การลืมทานยา สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้ผู้หญิงบางรายอาจมีผลข้างเคียงต่อร่างกายตามมาได้นั่นเอง
การฉีดยาคุมกำเนิด
เป็นวิธีการคุมกำเนิดระยะยาวที่มีประสิทธิภาพ สามารถฉีดยาคุมกำเนิดได้ตั้งแต่หลังจากคลอดบุตรโดยไม่มีผลต่อปริมาณน้ำนมของคุณแม่ ซึ่งจะต้องเข้ารับการฉีดยาคุมทุกๆ 3 เดือน ทั้งนี้อาจส่งผลข้างเคียงในบางราย เช่น ช่วงแรกประจำเดือนจะมากระปริบกระปรอย และหลังจากนั้นประจำเดือนจะไม่มี เมื่อต้องการให้มีประจำเดือนมาปกติอาจใช้เวลาประมาณ 6 ถึง 1 ปี
การฝังยาคุมกำเนิด
เป็นการฝังยาคุมกำเนิด ด้วยการฝังหลอดยาจำนวน 1 ถึง 6 หลอด ที่มีขนาดประมาณ 3 ซม. ซึ่งจำนวนหลอดยาจะขึ้นอยู่กับชนิดของยา โดยการฝังไว้ที่ใต้ผิวหนังบริเวณท้องแขนด้านใน เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการคุมกำเนิดระยะยาว 3-5 ปี ทั้งนี้มีผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยคือ ประจำเดือนมากระปริบกระปอย
การใส่ห่วงคุมกำเนิด
เป็นการคุมกำเนิดด้วยการใส่ห่วงเข้าไปในโพรงมดลูก เพื่อให้ห่วงขัดขวางการฝังตัวของตัวอ่อน วิธีนี้เหมาะกับการคุมกำเนิด 3-5 ปีขึ้นอยู่กับชนิดของห่วงที่ใช้ ทั้งนี้จะต้องเข้ารับการตรวจสายห่วงอย่างสม่ำเสมอ
การคุมกำเนิดแต่ละวิธีมีความแตกต่างกันทั้งข้อดีและผลข้างเคียง ดังนั้นหากต้องการทราบว่าการคุมกำเนิดวิธีไหนที่เหมาะกับคุณมากที่สุด ควรเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยตรง เพื่อให้ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดเหมาะสมที่สุด รวมถึงหลีกเลี่ยงความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ดีกว่า
คลินิกวีระพงศ์ เราตระหนักถึงความปลอดภัยเกี่ยวกับบริการด้านการตรวจภายใน การคุมกำเนิด ที่ได้มาตรฐาน จึงมั่นใจได้ว่าทุกข้อสงสัยที่คุณกังวลใจรวมถึงปัญหาต่างๆ ที่ต้องการตรวจรักษาโดยสูตินรีแพทย์ จะได้รับการบริการที่ตอบสนองทุกความต้องการอย่างเป็นกันเอง