คลินิกวีระพงศ์ ให้บริการรับฝากครรภ์สำหรับมารดาตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ โดยสูตินรีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ พร้อมให้บริการด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย ได้มาตรฐานสากล พร้อมให้คำปรึกษาเกี่ยวกับสูตินรีเวชอย่างครอบคลุม ด้วยบุคลากร เจ้าหน้าที่ ที่ให้บริการอย่างเป็นมิตร
สำหรับว่าที่คุณแม่มือใหม่ หรือ คุณแม่ที่ทราบว่าตัวเองตั้งครรภ์ได้ไม่นาน การคำนึงถึงการฝากครรภ์คือสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ เนื่องจากเป็นการดูแลสุขภาพครรภ์ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ต่อเนื่องไปถึงก่อนคลอดบุตร โดยสูตินรีแพทย์จะทำการตรวจ ดูแล พร้อมกับให้คำแนะนำ ในการดูแลสุขภาพครรภ์อย่างใกล้ชิด และมีการนัดตรวจอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ทารกและคุณแม่มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ หรือในกรณีที่พบว่าครรภ์มีความผิดปกติ แพทย์จะสามารถรักษาได้อย่างทันท่วงที เช่น ครรภ์เป็นพิษ โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ โรคลมชัก โรคโลหิตจาง ซิฟิลิส ติดเชื้อเอชไอวี เป็นต้น
ความสำคัญของการฝากครรภ์ที่ควรทราบ
- การฝากครรภ์เป็นการตรวจสอบ ติดตาม การตั้งครรภ์ ว่าเป็นไปอย่างปกติหรือผิดปกติหรือไม่อย่างไร โดยการติดตามอย่างใกล้ชิดโดยแพทย์ผู้ชำนาญการโดยตรง รวมไปถึงแพทย์จะช่วยวินิจฉัยโรคที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์ ซึ่งอาจส่งผลต่อแม่และทารกในครรภ์ได้
- การฝากครรภ์ช่วยให้คุณแม่ได้รับคำแนะนำที่ถูกต้อง ทั้งในการดูแลครรภ์ การดูแลสุขภาพของคุณแม่เอง การบำรุงครรภ์ให้ทารกมีสุขภาพแข็งแรง แนวทางการปฏิบัติที่สำคัญระหว่างการตั้งครรภ์ โดยหากเป็นการตั้งครรภ์ครั้งแรกจะช่วยให้คุณแม่รับมือได้ดีมากยิ่งขึ้น ซึ่งในระหว่างการตั้งครรภ์สามารถสอบถามทุกข้อสงสัยจากแพทย์ได้โดยตรงนั่นเอง
- การฝากครรภ์ช่วยลดอัตราการแท้งบุตร การคลอดบุตรก่อนกำหนด หรือ ภาวะเสี่ยงต่อการคลอดลูกแล้วเสียชีวิตได้มาก เนื่องจากแพทย์จะติดตามการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์อย่างต่อเนื่อง ทำให้ทราบพัฒนาการและประเมินภาวะเสี่ยงได้อย่างทันท่วงที
สิ่งที่ควรพิจารณาก่อนเข้ารับการฝากครรภ์
สำหรับผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ครั้งแรกอาจมีข้อสงสัย และไม่ทราบว่าจะต้องเตรียมตัวอย่างไรก่อนเข้ารับการฝากครรภ์ เบื้องต้นสามารถพิจารณาโดยใช้หลักการดังต่อไปนี้
- เลือกฝากครรภ์กับคลินิก หรือ โรงพยาบาล ที่สามารถเดินทางได้สะดวก เพื่อให้ง่ายต่อการตรวจอย่างสม่ำเสมอและในกรณีฉุกเฉิน
- เลือกสถานพยาบาล โรงพยาบาล รัฐ หรือ เอกชน ตามงบประมาณและความสะดวก
- ฝากครรภ์กับแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ หรือ แพทย์ที่ไว้ใจ ด้วยการพิจารณาจากประสบการณ์การดูแลครรภ์ ประวัติการทำงาน เป็นต้น
ขั้นตอนการฝากครรภ์มีอะไรบ้าง?
สำหรับคุณแม่มือใหม่ที่ต้องการฝากครรภ์ครั้งแรก แพทย์จะทำการตรวจร่างกาย และสุขภาพครรภ์ ด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้
- วัดส่วนสูง ชั่งน้ำหนัก เพื่อให้ทราบข้อมูลร่างกายเบื้องต้นว่าเป็นไปตามเกณฑ์หรือไม่ ซึ่งแพทย์จะทราบถึงขนาดเชิงกรานของคุณแม่ และประเมินได้ว่าการคลอดจะปลอดภัยหรือไม่อย่างไร
- วัดความดันโลหิต เพื่อวัดค่าความดันขณะที่หัวใจบีบตัวสูบฉีดโลหิตไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และค่าความดันขณะหัวใจคลายตัว หากพบว่ามีค่าเกิน 140/90 มิลลิเมตรปรอท แพทย์จะประเมินว่าคุณแม่มีภาวะความดันโลหิตสูงเกินเกณฑ์
- ตรวจปัสสาวะ เพื่อตรวจค่าน้ำตาลว่าเสี่ยงต่อโรคเบาหวานแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์หรือไม่ ตรวจค่าโปรตีนเพื่อตรวจการทำงานของไตว่ามีความผิดปกติหรือไม่ ซึ่งหากพบว่าคุณแม่มีการทำงานของไตที่ไม่ปกติควบคู่กับมีค่าความดันโลหิตที่สูง แพทย์จะประเมินว่ามีโอกาสเสี่ยงต่อภาวะครรภ์เป็นพิษ
- ตรวจเลือด เพื่อตรวจค่าความเข้มข้นของเลือด และตรวจหาโรคต่าง ๆ ที่อาจติดเชื้อ เช่น เอชไอวี หัดเยอรมัน ไวรัสตับอักเสบ หรือ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ต่าง ๆ โดยการเจาะเลือดบริเวณข้อพับ
- อัลตราซาวด์ เพื่อตรวจหน้าท้องประเมินทารกในครรภ์ ดูพัฒนาการประมาณน้ำหนักและสัดส่วนต่าง ๆ ของทารก และตรวจความผิดปกติของท่าทารกว่ามีความเสี่ยงต่อการคลอดหรือไม่อย่างไร
การฝากครรภ์จะแบ่งออกเป็น 3 ไตรมาส เพื่อติดตามพัฒนาการของครรภ์และสุขภาพของคุณแม่รวมถึงทารกในครรภ์ ซึ่งแพทย์จะแบ่งการตรวจออกเป็น 3 ช่วง โดยจะมีการตรวจที่แตกต่างกันดังต่อไปนี้
ไตรมาสที่ 1 : ช่วง 14 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์
เป็นการตรวจทุกๆ 1 เดือน โดยแพทย์จะทำการตรวจดังต่อไปนี้
- ตรวจยืนยันการตั้งครรภ์จากการตรวจปัสสาวะ
- ตรวจช่องคลอดหรือกระเพาะปัสสาวะ เพื่อคัดกรองว่ามีการติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอดหรือไม่
- ตรวจโรค เอชไอวี โรคธาลัสซีเมีย ตับอักเสบบีและซี รวมถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
- ตรวจเลือดเพื่อคัดกรองความผิดปกติทางพันธุกรรมของมารดา ว่าทารกมีความเสี่ยงต่อดาวน์ซินโดรม หรือ โรคอื่นๆ หรือไม่
- อัลตราซาวด์เพื่อติดตามพัฒนาการของทารกและกำหนดอายุครรภ์
ไตรมาสที่ 2 : ช่วง 15 – 28 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์
เป็นการตรวจทุกๆ 1 เดือน โดยแพทย์จะทำการตรวจดังต่อไปนี้
- ตรวจเลือดคัดกรองว่ามีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์หรือไม่
- ตรวจน้ำคร่ำในกรณีที่แพทย์ประเมินว่ามีความเสี่ยงที่ส่งผลต่อโครโมโซมของทารก
- อัลตราซาวด์ ติดตามพัฒนาการและดูเพศของทารกในครรภ์
ไตรมาสที่ 3: ช่วง 29 – 42 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์
เป็นการตรวจทุกๆ 2 สัปดาห์ โดยแพทย์จะทำการตรวจดังต่อไปนี้
- ฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยักและไข้หวัดใหญ่
- อัลตราซาวด์ ติดตามพัฒนาการและคำนวณน้ำหนักของทารกในครรภ์
- ประเมินขนาดศีรษะของทารกและกระดูกเชิงกรานของคุณแม่ เพื่อให้มั่นใจว่าไม่เป็นอันตรายขณะคลอด
ข้อควรปฏิบัติระหว่างเข้ารับการฝากครรภ์
- ควรเข้าพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง เพื่อรับคำแนะนำ ตรวจรักษา ประเมินสุขภาพทั้งคุณแม่และทารกอย่างถูกต้องตามอายุครรภ์
- ควรพกสมุดฝากครรภ์ติดตัวไว้เสมอ เพื่อการติดตามการฝากครรภ์และในกรณีฉุกเฉิน
- ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ทั้งในด้านการดูแลสุขภาพและโภชนาการ
- หากมีข้อสงสัยหรือความกังวลใจเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ ควรสอบถามแพทย์ที่ฝากครรภ์ให้มีความเข้าใจที่ถูกต้องและนำไปปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม
- เลือกทานอาหารที่มีประโยชน์อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ
- ออกกำลังกายด้วยวิธีที่ถูกต้อง เพื่อควบคุมน้ำหนัก ร่างกายแข็งแรง และช่วยสร้างความสดใสให้กับคุณแม่
- ควรพักผ่อนให้เพียงพอ ด้วยการกำหนดเวลาหลับหรือเวลางีบระหว่างวัน เพื่อให้ร่างกายมีสุขอนามัยในการนอนหลับที่ดี
สำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์และต้องการฝากครรภ์กับสูตินรีแพทย์ที่มีประสบการณ์ คลินิกวีระพงศ์ ยินดีให้คำปรึกษาและให้บริการฝากครรภ์อย่างเป็นกันเอง รองรับบริการด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย อุ่นใจด้วยทีมงานที่เป็นมิตร พร้อมดูแลคุณแม่ตลอดการตั้งครรภ์จนถึงหลังการคลอด
อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติม
ช่องทางการติดต่อเรา
- สอบถามเพิ่มเติมกับเราที่นี่ คลินิกหมอวีระพงศ์
- Line ID : @wrpclinic
- E-mail : wrpclinicgyn@gmail.com
- โทร : 092-928-6888
- เปิดให้บริการทุกวัน 12.00 – 20.00 น.
- แผนที่คลินิก https://goo.gl/maps/bSknah63pqrNLPwVA