การฝากครรภ์ ครั้งแรกตรวจอะไรบ้าง?

การฝากครรภ์ ครั้งแรกตรวจอะไรบ้าง

การฝากครรภ์ เป็นสิ่งสำคัญสำหรับมารดาที่ตั้งครรภ์ เนื่องจากการฝากครรภ์จะสามารถติดตาม เฝ้าระวังความผิดปกติที่เกิดขึ้น ในขณะที่ตั้งครรภ์ซึ่งจะตรวจติดตามเป็นระยะ อาจพบความผิดปกติได้หลายโรค เช่น เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ภาวะดาวน์ซินโดรม ความดันโลหิตสูง เป็นต้น อันเป็นการส่งเสริมดูแลให้ทั้งคุณแม่และลูกน้อยมีสุขภาพที่สมบูรณ์ที่สุด และป้องกันโรคแทรกซ้อนบางอย่างที่อาจเป็นอันตรายต่อคุณทั้งคู่ได้ครับ

การฝากครรภ์ ครั้งแรก จุดเปลี่ยนสำคัญของครอบครัว

สำหรับการฝากครรภ์ในครั้งแรกนั้น แพทย์จะทำการซักประวัติด้านสุขภาพของคุณแม่ หากมีโรคประจำตัว หรือประวัติการแพ้ยาควรต้องแจ้งให้แพทย์ทราบ พร้อมกับตรวจสุขภาพขั้นพื้นฐาน ได้แก่ ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดความดันโลหิต ตรวจเลือดเพื่อค้นหาโรคทางพันธุกรรม และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ทำการตรวจหาโปรตีนและน้ำตาลในปัสสาวะ เพื่อประเมินภาวะสุขภาพของคุณแม่ คำนวณอายุครรภ์ คำนวณวันครบกำหนดคลอด วางแผนในการตรวจคัดกรองความเสี่ยงต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ฉีดวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันโรค ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายกับทารกระหว่างที่กำลังตั้งครรภ์อยู่ ตลอดจนให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัว เพื่อเตรียมพร้อมรับความเปลี่ยนแปลงของการตั้งครรภ์ในระยะต่อไป หลังจากนั้น แพทย์ก็จะนัดตรวจทุกเดือน และถี่ขึ้นเรื่อยๆ เมื่อถึงเวลาใกล้คลอด

การฝากครรภ์ ครั้งแรก จุดเปลี่ยนสำคัญของครอบครัว

อาการไหนที่เป็นจุดสังเกตว่าคุณกำลังตั้งครรภ์

  • รู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย และเบื่ออาหาร หรืออยากทานอะไรที่ผิดแปลกออกไป
  • ปวดตึงคัดเต้านม แต่ประจำเดือนไม่มาตามปกติ หรือขาดไปเลย
  • ตกขาว และมีเลือดออกจากช่องคลอดแบบกระปิดกระปอย
  • มีอาการปวดศีรษะ เวียนศีรษะ คล้ายจะเป็นลม คลื่นไส้ อาเจียน มีไข้ตัวร้อน
  • ปวดหลัง ท้องผูก และปัสสาวะบ่อยผิดปกติ
  • อารมณ์แปรปรวน เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย เดี๋ยวเศร้า

ความจริงแล้ว คุณแม่ผู้ที่ตั้งครรภ์ในช่วงระยะแรกประมาณ 1-2 สัปดาห์ จะไม่ค่อยมีอาการมากนัก หรือบางคนแทบไม่มีอาการใดๆ เลย ซึ่งอาการแพ้ท้องของผู้หญิงแต่ละคนอาจจะเหมือน หรือแตกต่างกันไป ผู้หญิงบางคน อาจไม่มีอาการแพ้ท้องเลย บางคนอาจมีอาการน้อยมาก แต่หากต้องการทราบว่าคุณตั้งครรภ์จริงหรือไม่ ควรตรวจการตั้งครรภ์เบื้องต้นด้วยชุดตรวจการตั้งครรภ์ที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป หรือไปตรวจกับแพทย์เฉพาะทาง เช่น คลินิกหมอวีระพงศ์ เกาะสมุย เกาะพะงัน เกาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อที่จะได้ทราบผลแน่ชัด และหากตั้งครรภ์ขึ้นมาจริงๆ จะได้ทำการฝากครรภ์ตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณและลูกน้อย

เตรียมตัวอย่างไรก่อนทำการฝากครรภ์

  • เลือกสถานพยาบาล ที่สะดวกที่สุดในการเดินทาง ไม่ไกลจากบ้านของคุณมากเกินไป เผื่อมีเหตุฉุกเฉินจะได้เข้าพบแพทย์ได้ทันท่วงที
  • เลือกแพทย์ที่ไว้ใจได้ การฝากครรภ์กับคุณหมอที่คุณแม่และคุณพ่อไว้ใจ จะช่วยลดความกังวลใจลงได้มา ซึ่งอาจจะพิจารณาจากประวัติการทำงาน ความคิดเห็นจากประสบการณ์ของคุณแม่ท่านอื่นที่เคยมาใช้บริการ
  • เตรียมของสำคัญให้ครบ คุณควรเตรียมบัตรประจำตัวประชาชน เพื่อทำการลงทะเบียนเป็นคนไข้ของสถานพยาบาลแห่งนั้น และควรแจ้งประวัติการแพ้ยา โรคประจำตัว ข้อมูลเรื่องประจำเดือน ประวัติการแท้งบุตร และประวัติความเสี่ยงโรคทางพันธุกรรมให้แพทย์ได้ทำการวินิจฉัยด้วย
  • จองคิวก่อนล่วงหน้า สถานพยาบาลบางแห่งมีคิวจำนวนมาก หากเดินทางไปและไม่ได้ทำการลงทะเบียนจองไว้ก่อนก็อาจจะทำให้ไปรอนาน และรู้สึกไม่ค่อยสบายตัว เพราะคุณแม่อาจมีอาการแพ้ท้อง

จองคิวออนไลน์ เพื่อฝากครรภ์กับคุณหมอวีระพงศ์ที่นี่

ขั้นตอน การฝากครรภ์

โดยกระบวนการฝากครรภ์ จะเเบ่งออกเป็น 3 ไตรมาส ดังนี้

การฝากครรภ์ไตรมาสที่ 1

คือ นับตั้งเเต่ทราบว่ามีการตั้งครรภ์ จนถึงประมาณ 14 สัปดาห์ เเพทย์จะทำการนัดตรวจทุกๆ 4 สัปดาห์ ในไตรมาสนี้ ผู้ที่ตั้งครรภ์เเละสามีจะได้รับการเจาะเลือด เพื่อตรวจหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคธาลัสซิเมียเเละ เจาะตรวจน้ำตาลในกระเเสเลือด

ขั้นตอน การฝากครรภ์

การฝากครรภ์ไตรมาสที่ 2

คือ นับตั้งเเต่ 14-28 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ เเพทย์จะนัดผู้ที่ตั้งครรภ์ทุกๆ 2-3 สัปดาห์ โดยในไตรมาสนี้ ผู้ที่ตั้งครรภ์จะได้ทราบเพศของทารก ได้รับการอัลตร้าซาวด์ดูความสมบูรณ์ของทารกในครรภ์ เเละได้รับการเจาะเลือดเพื่อประเมินภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ซ้ำอีก 1 ครั้ง รวมถึงการได้รับวัคซีนพื้นฐานสำหรับหญิงตั้งครรภ์ เช่น วัคซีนบาดทะยัก เป็นต้น

การฝากครรภ์ไตรมาสที่ 3

จะนับตั้งเเต่ 28-41 สัปดาห์ เเพทย์จะทำการนัดทุกๆ 1-2 สัปดาห์ เพื่อประเมินสุขภาพทารกในครรภ์ และประเมินความพร้อมของคุณแม่ โดยเเพทย์จะทำการอัลตร้าซาวด์ซ้ำอีกครั้ง เพื่อตรวจดูท่าทางของทารก น้ำหนักโดยประมาณ ปริมาณน้ำคร่ำ เเละทำการเจาะเลือดเพื่อหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รวมถึงภาวะตัวซีดซ้ำอีกครั้ง ก่อนถึงกำหนดคลอด

การฝากครรภ์ จำเป็นต้องตรวจอะไรบ้าง

  • ตรวจร่างกายเบื้องต้นโดยแพทย์ ฟังเสียงหัวใจและปอด
  • วัดส่วนสูง ชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิต
  • ซักประวัติสูติกรรม โรคประจำตัว ประวัติครอบครัว
  • ตรวจอัลตร้าซาวนด์ เพื่อยืนยันการตั้งครรภ์
  • ตรวจภาวะเลือดจาง โรคธาลัสซีเมีย
  • ตรวจหาภูมิคุ้มกันหัดเยอรมัน
  • ตรวจเชื้อเอชไอวีเอชไอวี
  • ตรวจซิฟิลิส ไวรัสตับอักเสบบี
  • ตรวจกรุ๊ปเลือด และความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด
  • ตรวจการทำงานของตับและไต
  • ตรวจปัสสาวะ เพื่อค้นหาความผิดปกติอื่นๆ
  • ตรวจคัดกรองเบาหวานขณะตั้งครรภ์
  • ตรวจสุขภาพช่องปาก
  • ตรวจบริเวณทรวงอก และลักษณะหัวนม
  • ตรวจบริเวณหน้าท้อง และขาว่ามีอาการบวมหรือไม่

ข้อเสียหากไม่ทำการฝากครรภ์

หากไม่ไปฝากครรภ์ หรือไปฝากครรภ์ช้ากว่าเกณฑ์ที่เหมาะสม คือ หลังจากอายุครรภ์มากกว่า 4 เดือนขึ้นไป อาจจะส่งผลกระทบกับทารกในครรภ์ได้เป็นอย่างมาก เพราะในระหว่างที่ตั้งครรภ์นั้นหากลูกน้องมีอาการผิดปกติ แพทย์จะไม่สามารถทำการวินิจฉัย และรักษาได้ทันเวลา หรือในด้านคุณแม่เอง หากมีโรคประจำตัว หรือทานยาบางอย่างอยู่ อาจส่งผลร้ายต่อการตั้งครรภ์ได้โดยตรง นอกจากนี้ คุณแม่จะไม่ได้รับยาบำรุงที่จำเป็นสำหรับการดูแลครรภ์ เช่น ยาเสริมธาตุเหล็ก ยาเสริมแคลเซียม ซึ่งล้วนจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของทารก หรือในบางรายคุณแม่อาจมีอาการเจ็บป่วยได้ซึ่งหากไม่ป้องกันไว้ก่อน การรักษาภายหลังก็จะยุ่งยากส่งผลต่อเนื่องไปยังอนาคตได้

ประโยชน์ของการฝากครรภ์

กล่าวโดยสรุปคือ การฝากครรภ์มีประโยชน์มากมาย ทั้งกับคุณแม่ ทารกในครรภ์ และสามีที่เป็นหัวหน้าครอบครัวที่จะส่งเสริมให้สุขภาพร่างกายและจิตใจของคุณมีความสมบูรณ์แข็งแรงที่สุด เพราะในระหว่างที่ทำการฝากครรภ์อยู่นั้น แพทย์จะให้การดูแลเป็นอย่างดี คอยแนะนำ และตอบคำถามที่คุณสงสัยเกี่ยวกับสิ่งที่ควรทำในระหว่างการตั้งครรภ์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโภชนาการ การออกกำลังกาย และการดูแลตัวเองอื่นๆ รวมไปถึงตรวจดูว่าการตั้งครรภ์ในครั้งนี้ดำเนินไปอย่างราบรื่นหรือไม่ มีโอกาสเกิดโรคอะไรขึ้นบ้างระหว่างตั้งครรภ์ที่อาจส่งผลร้ายต่อคุณแม่และทารกได้ เช่น อาการครรภ์เป็นพิษ โรคโลหิตจาง โรคซิฟิลิส หรือการติดเชื้อเอชไอวี เป็นต้น ทั้งนี้ ยังสามารถขอคำปรึกษาจากแพทย์ผู้มีความเชี่ยวชาญ ในด้านยาที่ใช้บำรุงคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ เพื่อให้มีอายุครรภ์ที่ปลอดภัยไปจนถึงวันกำหนดคลอด ลดโอกาสที่คุณแม่จะคลอดก่อนกำหนด หรือเกิดการแท้งลูกในอนาคตครับ

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ