การรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดย วีระพงษ์คลินิก

การรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดย วีระพงษ์คลินิก

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (Sexually transmitted infections : STIs) เป็นกลุ่มโรคที่มีการติดต่อจากบุคคลหนึ่งสู่อีกบุคคลหนึ่ง โดยส่วนใหญ่แล้วจะติดต่อกันได้จากการมีเพศสัมพันธ์ และในบางโรคเกิดจากการสัมผัสทางเพศ การสัมผัส รวมถึงการถ่ายทอดจากมารดาสู่ทารกในครรภ์ อย่างไรก็ตามยังเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์สามารถติดต่อทางเลือดได้ จากการใช้เข็มฉีดยา หรือ หลอดฉีดยาร่วมกัน (ในกลุ่มผู้ติดยาเสพติดชนิดฉีด) ได้อีกด้วย

โรคติดต่อทางเพศเกิดจากสาเหตุใด?

โดยทั่วไปแล้วโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์สามารถเกิดได้จาก 3 กลุ่มหลัก ๆ ดังนี้

เชื้อไวรัส

  • เริม : Herpes Simplex
  • เอชไอวี : Human Immunodeficiency Virus (HIV)
  • หูดหงอนไก่ : Papilloma Virus (HPV)

เชื้อแบคทีเรีย

  • ซิฟิลิส : Syphilis
  • หนองในแท้ : Gonorrhea
  • หนองในเทียม : Chlamydia

เชื้ออื่นๆ

  • เชื้อรา : Candida
  • พยาธิ : Trichomanas
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เกิดจาก

อาการที่บ่งบอกว่าคุณเสี่ยงต่อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

เนื่องจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มีด้วยกันหลายโรค ซึ่งบางโรคอาจไม่แสดงอาการและบางโรคมีอาการที่สังเกตเห็นความผิดปกติได้ ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้อาการลุกลามรุนแรง หากพบว่ามีอาการดังต่อไปนี้ ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อลดความเสี่ยงต่ออาการของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โดยได้อย่างทันท่วงที

  • มีไข้
  • ปวดท้องน้อย
  • ปัสสาวะแสบขัด
  • รู้สึกเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์
  • ตกขาวเรื้อรัง มีกลิ่นผิดปกติ
  • คัน และ ระคายเคืองบริเวณอวัยวะเพศ
  • บริเวณอวัยวะเพศ หรือ ทวารหนัก มีผื่น ตุ่ม แผล
  • ผู้ชายมีของเหลวออกมาจากอวัยวะเพศ

การตรวจรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

เมื่อสังเกตว่าตนมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ควรเข้ารับการตรวจโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างเร็วที่สุด เพื่อรับคำปรึกษาและทำการตรวจคัดกรองค้นหาโรค ในผู้หญิงแพทย์จะแนะนำให้ตรวจภายใน และนำเข้าตรวจในห้องปฏิบัติการ หรือ บางอาการแพทย์อาจพิจารณาให้ตรวจเลือด ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยรายนั้นๆ

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบบ่อย

โรคเริม

โรคเริมบริเวณอวัยวะเพศ เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบได้บ่อยในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันร่างกายต่ำ มีสาเหตุจากเชื้อไวรัส herpes simplex virus หรือ HSV ที่ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงหากเป็นครั้งแรก และหลังจากนั้นอาการรุนแรงจะลดลงหากเป็นซ้ำอีกครั้ง ผู้ป่วยจะมีอาการที่สังเกตได้ ดังนี้ มีรอยถลอกบริเวณเยื่อบุอ่อน หรือ ผิวหนัง ของอวัยวะเพศ หากติดเชื้อเริมครั้งแรกจะมีอาการอ่อนเพลีย ปวดเมื่อย ครั่นเนื้อครั่นตัว ก่อนพบรอยโรคที่อวัยวะเพศที่มีลักษณะเป็นตุ่มใส หลังจากนั้นจะกลายเป็นแผล ปัสสาวะแสบขัด เจ็บบริเวณแผล โดยรวมแล้วจะมีระยะอาการประมาณ 2-4 สัปดาห์

ซิฟิลิส

โรคซิฟิลิสนับว่าเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่อันตราย และเป็นภัยเงียบที่ส่งผลให้ผู้ป่วยอาจมีอาการแทรกซ้อนไปสู่การเสียชีวิตได้ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที โดยสาเหตุของโรคเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Treponema Pallidum ที่สามารถแพร่เชื้อได้ทั้งจากการมีเพศสัมพันธ์ การสัมผัสแผลของผู้ติดเชื้อ รวมถึงการติดต่อจากมารดาสู่ทารกในครรภ์ ซึ่งอาการของโรคซิฟิลิส แบ่งออกเป็น 4 ระยะ

  • ระยะที่ 1 : พบแผลเป็นจุดเล็ก ๆ บริเวณที่ติดเชื้อแบคทีเรีย โดยทั่วไปจะพบอาการนี้จะพบเมื่อร่างกายได้รับเชื้อไม่เกิน 2 เดือน หลังจากนั้นอาการจะหายไปภายใน 6 สัปดาห์
  • ระยะที่ 2 : ระยะที่พัฒนาจากระยะที่ 1 ใน 3 เดือน จะมีอาการผมร่วง น้ำหนักตัวลดลง มีตุ่มตามตัว และต่อมน้ำเหลืองบวมผิดปกติ เป็นต้น ทั้งนี้อาการเหล่านี้สามารถหายได้เอง
  • ระยะที่ 3 : ระยะสงบของโรคซิฟิลิส เป็นระยะที่ร่างกายของผู้ป่วยมักจะไม่แสดงอาการให้เห็นได้ชัดเจน แต่ร่างกายมีเชื้ออยู่และก่อตัวเข้าสู่ระยะที่ 4 ต่อไป
  • ระยะที่ 4 : ระยะสุดท้าย หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม จะส่งผลข้างเคียงอย่างรุนแรงต่อร่างกายผู้ป่วย เช่น ระบบหัวใจ ระบบประสาท ระบบสมอง อาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้ในที่สุด

โรคหนองในแท้

เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่มีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรีย Neisseria gonorrhoeae โดยโรคหนองในแท้ หรือ โกโนเรีย (Gonorrhoea) จะเกิดเฉพาะบริเวณเยื่อเมือก Mucous Membrance เช่น เยื่อบุตา คอ ปากมดลูก ช่องคลอด เยื่อบุมดลูก ท่อรังไข่ ท่อปัสสาวะ ทวารหนัก เป็นต้น ซึ่งอาการของโรคในผู้ป่วยหญิงมักจะไม่แสดงอาการ หรือบางรายอาจมีของเหลวออกจากช่องคลอดมากกว่าปกติ เจ็บอุ้งเชิงกรานขณะมีเพศสัมพันธ์ ประจำเดือนมาไม่ปกติ ฯลฯ หากไม่ได้รับการรักษาอาจแพร่สู่อวัยวะภายในอื่น ๆ และนำไปสู่อาการแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบบ่อย

หูดหงอนไก่

เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบได้ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยมีสาเหตุจากเชื้อไวรัส HPV ที่มีหลายสายพันธุ์ ทั้งที่พัฒนาให้เกิดมะเร็งปากมดลูกได้และไม่ได้ ซึ่งโรคหูดหงอนไก่จัดอยู่ในประเภทเชื้อที่ไม่ทำให้เกิดมะเร็ง อย่างไรก็ตามเป็นโรคที่มักไม่แสดงอาการให้เห็นได้ชัดเจน เนื่องจากร่างกายสามารถกำจัดได้เอง ดังนั้นจึงจะเกิดขึ้นกับผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ ระยะของโรคจะมีการฟักตัวของเชื้อประมาณ 3 สัปดาห์แรก ไปจนถึง 8 เดือน ส่งผลให้มีเนื้องอกนูน หรือ ติ่งสีชมพู/ขาว มีผิวหยักคล้ายกับหงอนไก่ ส่วนใหญ่จะพบได้บริเวณปากช่องคลอด ผนังช่องคลอด ปากมดลูก รอบทวารหนัก

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในผู้หญิงเป็นภัยใกล้ตัวที่สามารถป้องกันได้ หากตระหนักถึงการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย และหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้ติดโรคต่าง ๆ รวมถึงควรใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์ จะสามารถลดความเสี่ยงของโรคติดต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้หากพบว่ามีอาการผิดปกติที่เป็นสัญญาณของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ควรเข้ารับการตรวจรักษาอย่างเร็วที่สุด เพื่อป้องกันการลุกลามสู่โรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่อาจตามมาได้

อ่านบทความที่น่าสนใจที่นี่